เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง
การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาช่วยในการรวบรวม
ประมวลผล สรุป จัดเก็บ และเผยแพร่ สารสนเทศที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวเลข
ตัวอักษร ภาพ และเสียง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ
1. การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง
ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม ( Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT)
2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์
เช่น แฟกซ์ , อินเทอร์เน็ต , อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง
ๆ มีราคาถูกลง
4. เครือข่ายสื่อสาร ( Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก
เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ
และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
5. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่
ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงานฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ
หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
ข้อมูล
เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ
ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้
หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน
ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มี แนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น
การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง
โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
ลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย
ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบัน
1. e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่
ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร
เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learningหรือ Electronic
Learning ว่า
หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่
ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ
2. การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง
ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน
แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ
การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์
หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม
และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย
การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น
3. Asynchronous Learning คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน
และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous
Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา
โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ
ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่
ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ
หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์
และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ
ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น
จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล
(Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น